ย่านาง เป็นพืชสมุนไพร ที่ใช้เป็นอาหาร และ เป็นยามาตั้งแต่โบราณ หมอยาโบราณอีสาน เรียกชื่อทางยาของย่านางว่า " หมื่นปี บ่ เฒ่า แปลเป็นภาษาภาคกลางว่า " หมื่นปีไม่แก่ "
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์พบว่า น้ำคั้นจากใบย่านาง มีสารคลอโรฟีลล์ (Chlorophyll) ช่วยปรับ ความสมดุลของร่างกาย มีฤทธิ์เย็น เด็ดใบมาคั้นน้ำเป็นน้ำซุบ ปรุงอาหารได้หลายอย่าง จะใช้น้ำที่คันผสมลงในอาหาร เช่น แกงอ่อมต้มแชบ ,ซุบหน่อไม้ ประโยชน์ ของสารคลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) ที่ร่างกายได้รับ
• ทำให้สดชื่น หายเหนื่อยจากการอ่อนเพลีย
• ลดความดันโลหิต ลดปัญหาเส้นเลือดหัวใจตีบ
• ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน
• สร้างภูมิคุ้มกัน โรคภูมิแพ้ แพ้อากาศ
• ขับกรดจากข้อต่อต่างๆ ทำให้อาการปวดข้อ ปวดเมื่อยตามตัว
• ขับสารพิษออกจากร่างกาย สารตกค้างของยาปฏิชีวนะ สารเคมีตกค้างในอาหาร ทำให้ร่างกายมีภูมิต้านทานดี สุขภาพแข็งแรง สดชื่นขึ้น
• เพิ่มประสิทธิภาพเม็ดเลือดแดงและเซลล์เม็ดเลือดแดง ทำให้ระบบเลือดไหลเวียนดีขึ้น
• ป้องกันการเจริญเติมโตของเซลล์มะเร็ง
• ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย, การใช้รักษาแผลอักเสบ, แผลเปื่อย, แผลเรื้อรัง, แผลถลอก, แผลไฟไหม้, เหงือกอักเสบ, แผลในปาก • บรรเทาอาการปวดศีรษะทั่วไป และปวดศีรษะไมเกรนได้
• ช่วยให้ผู้ที่เป็นต้อกระจกมองเห็นได้ดีขึ้น
• มีสารอาหารบำรุงเส้นผม ทำให้ผมหงอกดำขึ้น ช่วยลดอาการผมร่วง
วิธีใช้
ใช้ใบย่านางในการเพิ่มคลอโรฟิล คุ้มครองเซลล์ ฟื้นฟูเซลล์ ปรับสมดุล บำบัดหรือบรรเทาอาการที่เกิดจากภาวะไม่สมดุล แบบร้อนเกิน ดังนี้
เด็ก ใช้ใบย่านาง 1-5 ใบ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว 200 - 600 ซีซี
ผู้ใหญ่ ที่รูปร่างผอม บางเล็ก ทำงานไม่ทน ใช้ 5-7 ใบ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว
ผู้ใหญ่ที่รูปร่างผอม บาง เล็กทำงานทน ใช้ 7-10 ใบ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว
ผู้ใหญ่ที่รูปร่างสมส่วน ตัวตัวโต ใช้ 10-20 ใบ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว
โดยใช้ใบย่านางสด มาล้างทำความสะอาดโขลกให้ละเอียดแล้วเติมน้ำ หรือ ขยี้ใบย่านางกับน้ำหรือปั่นในเครื่องปั่น( แต่การปั่นในเครื่องปั่นไฟฟ้า จะทำให้ ประสิทธิภาพลดลงบ้าง เนื่องจากความร้อนจะไปทำลายความเย็นของย่านาง ) แล้วกรองผ่านกระชอนเอาแต่น้ำดื่มครั้งละ 1/2 - 1 แก้ว วันละ 2-3 เวลา ก่อนอาหาร หรือตอนท้องว่างหรือผสมเจือจางดื่มแทนน้ำ เพราะถ้าเกิน 4 ชม. มักจะมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว ไม่เหมาะที่จะดื่ม แต่ถ้าแช่ในตู้เย็น ควรใช้ภายใน 3-7 วันโดยให้สังเกตุที่กลิ่นเปรี้ยวเป็นหลัก
นอกจากนี้แล้ว ยังสามารถใช้น้ำย่านางมาสระผม ช่วยให้ศีรษะเย็น ผมดกดำ หรือชลอผมหงอก หรือผสมดินสอพองหรือปูนเคี้ยวหมาก ให้เหลวพอประมาณทาสิว ฟ้า ตุ่ม ผื่นคัน พอกฝีหนอง
เทคนิควิธีการปั่นน้ำย่านาง
การทำน้ำใบย่านาง โดยใช้เครื่องปั่นให้คงคุณค่าสารอาหาร เทคนิค อยู่ที่ วิธีการปั่นคือ ไม่ควรกดปั่นครั้งเดียวจนใบย่านางละเอียด เทคนิคที่แจ๋วกว่า คือให้กดปั่น แล้วนับ 1-2-3-4-5 อย่างเร็ว แล้วกดปิด รอให้น้ำใบย่านางหยุดหมุน แล้วกดปั่นอีกครั้งนับ 1-2-3-4-5 อย่างเร็ว แล้วกดปิด รอให้น้ำใบย่านางหยุดหมุนทำซ้ำไปเรื่อยๆจนใบย่านางละเอียด วิธีนี้ทำให้โมเลกุลของสารอาหารไม่เปลี่ยนรูปร่างไปจากเดิม เสร็จแล้วกรองด้วยผ้าขาวบางครับ
วิธีกินน้ำย่านาง
ดื่มน้ำย่านางสด ๆ ครั้งละประมาณครึ่งแก้ววันละ 1-3 ครั้ง ก่อนอาหารหรือตอนท้องว่างหรือจะดื่มแทนน้ำก็ได้ บางครั้งสามารถผสมน้ำมะพร้าว น้ำตาล น้ำมะนาว ในรสชาติไม่จัดเกินไปเพื่อให้ดื่มง่ายขึ้นก็ได้
สิ่งสำคัญคือความพอดี หมอเขียวบอกว่า บางคนดื่มน้ำย่านางแล้วรู้สึกแพ้ ผะอืดผะอม เพราะฉะนั้น จึงควรกลับไปดูว่าปริมาณการดื่มและความเข้มข้นของสมุนไพรควรเหมาะสมกับตัวเรามากที่สุดและดื่มแบบพอดีกับที่ร่างกายเราต้องการ
เพราะถ้าเรารู้สึกผะอืดผะอมขึ้นมาเมื่อไหร่ แสดงว่าร่างกายบอกว่าพอแล้วนั่นเองค่ะ สำหรับบางคนที่รู้สึกว่า กินยาก เหม็นเขียว หรือรู้สึกไม่สบาย ให้กดน้ำร้อนใส่น้ำย่านาง หรือนำน้ำย่านางไปต้มให้เดือดก่อนดื่ม หรือผสมกับน้ำสมุนไพรอื่น
loading...
ติดตามข่าวด่วน เกาะกระแสข่าวดัง บน Facebook คลิกที่นี่!(Like)